กลับหน้าหลัก
 บทเรียนที่ 8
 ใบความรู้ที่ 8.1
Frame by Frame
  การสร้างวงกลมเลื่อน
  การสร้างวงกลมขยาย
  วงกลมกะพริบ
  คนเดิน
 
 ใบความรู้ที่ 8.2
การสร้างชิ้นงานแบบ Frame by Frame แบบง่าย
  -  รวมสร้างชิ้นงาน
  การสร้างชิ้นงานทีละส่วน
     -  ภูเขา
     -  ดวงอาทิตย์
     -  ต้นไม้โต
     -  ดอกไม้โต
  - การเผยแพร่ชิ้นงาน (Publish)
 
 แบบฝึกหัดและใบงาน
  แบบฝึกหัดที่ 8.1
  ใบงานที่ 8.1
  ใบงานที่ 8.2
 
 
ใบความรู้ที่ 8.1 Frame by Frame

       จากที่ได้กล่าวมาในเล่มก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบทวีน ในเล่มนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Keyframe)
      Frame หมายถึง ช่องที่แสดงภาพแต่ละจังหวะ เมื่อนำมาแสดงตามลำดับอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเฟรมที่แสดงบนสเตจคือเฟรมที่ตัวเลื่อนหรือ Playhead ชี้ตำแหน่งอยู่

การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Keyframe)
      การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Keyframe) เป็นการระบุข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของทุกเฟรมด้วยตัวเองเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น รูปแบบและรายละเอียดต่างๆ ของออบเจ็กต์บนสเตจ ได้แก่ ตำแหน่ง ขนาด โทนสี การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยวิธีนี้ใช้เวลาค่อนข้างมาก เพราะเราต้องมากำหนดองค์ประกอบของออบเจ็กต์ต่างๆ ทีละเฟรม


ตัวอย่างที่ 1  การสร้างวงกลมเลื่อน

      1.  คลิกเครื่องมือ Oval Tool 
     
2.  คลิกเฟรมที่ 1
      3.  วาดรูปวงกลม
 
      4.  คลิกขวาเฟรมที่ 2
      5.  คลิกเลือก  Insert Keyframe
      6.  คลิก Selection Tool    ที่แถบเครื่องมือ
      7.  คลิกค้างที่วงกลมแล้วเลื่อนไปทางขวาเล็กน้อย
 
 
      8.  คลิกขวาเฟรมที่ 3
      9.  คลิกเลือก  Insert Keyframe หรือกดปุ่ม F6 ที่แป้น Keyboard
      10. คลิกค้างที่วงกลมแล้วเลื่อนไปทางขวาเล็กน้อย
 
 
      11. ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 8 – ข้อ 10 เพื่อให้วงกลมเลื่อนไปถึงทางด้านขวามือตามความเหมาะสม
 
 

      12. เมื่อเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Ctrl + Enter เพื่อทดสอบการทำงาน
 
 
เว็บไซต์นี้สามารถดูได้ที่ความละเอียด 1366 x 768 Pixel
ดูผู้แลเว็บไซต์ วัชรา ปานนาค  e-mail : watra25177@gmail.com